พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จาก วิกิคำคม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1880 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชดำรัส[แก้ไข]

  • วันนี้เรายินดีที่ได้รับอัญเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้ว ในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม แต่ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีเหตุติดขัด ซึ่งการยังจะดำเนินไปไม่ได้ตลอดปลอดโปร่ง ตัวเราเป็นรัชทายาทจึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ โดยรู้ว่าเมื่อได้ทำสำเร็จแล้วจะเป็นเครื่องเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นราชานุสาวรีย์ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาติไทยเราเป็นการสมควรยิ่งนักที่จะสร้างพระราชานุสาวรีย์ อันใหญ่และถาวรเช่นนี้ ทั้งจะได้เป็นเครื่องที่จะทำให้บังเกิดประโยชน์แก่ชาติไทยไม่มีเวลาเสื่อมสูญด้วย เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราจะได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่แลเห็นความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้ส่วนการที่ดำเนินไปได้จนเป็นรูปถึงเพียงนี้แล้ว ก็ต้องอาศัยความอุตสาหะของกรรมการผู้ได้รับมอบเป็นหน้าที่ผู้อำนวยการ ประกอบกับความอุตสาหะแห่งบรรดาผู้มีหน้าที่เป็นครู อาจารย์สั่งสอนในโรงเรียนนี้ ของกรรมการที่ได้รับมอบหน้าที่ไปจากเราให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจงได้รับความขอบใจของเราแล้ว และขอให้แสดงความขอบใจของเรานี้แก่ครู อาจารย์ทั้งหลายที่พยายามทำการตามหน้าที่อย่างสามารถด้วย ขอจงมีความเจริญสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคลทั่วกัน ความมุ่งหมายและกิจการซึ่งต่างก็ตั้งหน้าพยายาม เพื่อจะให้เป็นความดีความงามแก่มหาวิทยาลัยในเบื้องหน้านั้น ก็ขอให้ได้ผลสำเร็จ สมปรารถนาโดยเร็วเทอญฯ
  • สำหรับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ข้าไม่เป็นห่วงการปั้นนักเรียน “ชั้นมัธยม” ให้เป็นเทวดาเหมือน กันหมดทุกคน ได้คะแนนกันคนละหลายพันคะแนนเท่าการสร้างเด็กหนุ่มที่ขยันขันแข็ง และสะอาดทั้งทางร่างกายและจิตใจ เตรียมพร้อมที่จะรับภาระต่างๆ ซึ่งจะมีมาในอนาคต ข้าไม่ต้องการนักเรียนตัวอย่างที่สอบไล่ได้คะแนนขั้นเกียรตินิยมทุกๆ ครั้ง ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ที่ข้าอยากได้นั้นคือ เยาวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี และข้าจะไม่โศกเศร้าเลย ถ้าเจ้ามารายงานว่า เด็กคนหนึ่งเขียนหนังสือไม่คล่อง คิดเลขเศษซ้อนไม่เป็น และไมรู้วิชาเรขาคณิตเลย ถ้าข้ารู้ว่าเด็กคนนั้นได้ศึกษาพอที่จะรู้ว่าความเป็นลูกผู้ชายคืออะไร และขี้แยคืออะไร ข้าไม่อยากได้ยิน “คนฉลาด” บ่นอีกว่า “ปัญญาท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” สิ่งที่ข้าต้องการในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ ให้การศึกษาเป็นเครื่องทำให้เด็กเป็นเยาวชนที่น่ารัก และเป็นพลเมืองดี ไม่ใช่ทำลายบุคลิกภาพเสียหมด โดยบรรทุกหลักสูตรและระบบการต่างๆ ลงไป ข้าต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งที่งดงาม จนทำให้เด็กที่ออกไปแล้วหวนกลับมาคิดถึงในวันข้างหน้าด้วยความภาคภูมิใจ ขออย่าเอาโรงเรียนของข้าไปเปรียบกับโรงเรียนอื่น เพราะมีจุดหมายต่างกัน ถ้าข้าอยากจะได้โรงเรียนธรรมดาเพียงหลังหนึ่ง สร้างเป็นโรงเรียนไปมาจะไม่ดีกว่าหรือ จะสร้างโรงเรียนกินนอนขึ้นมาทำไม
  • สิ่งที่หลายคนไม่ทราบ คือ วชิราวุธวิทยาลัยไม่ได้สอนให้นักเรียนรู้จักแค่ ระเบียบ วินัย ความอดทน สิ่งที่นักเรียน (ส่วนหนึ่ง) ได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง คือ คุณค่าของการมีอิสรภาพ (Taste of Freedom) อิสระในการกินอะไรก็ได้ที่อยากกิน อิสระที่จะนอนตื่นสาย จะตื่นกี่โมงก็ได้ จะนอนกี่โมงก็ได้ อิสระที่จะอ่านหนังสือเมื่อไหร่ก็ได้ คนเรามักจะไม่รู้ซึ้งถึงคุณค่าของอิสรภาพหรอก เพราะเรามีมันอยู่ทุกวัน การที่คนเราถูกบังคับให้อยู่ในกรอบตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่า คน คนนั้นจะกลายเป็นคนที่มีระเบียบวินัย ไม่ได้หมายความว่า คน คนนั้นชอบที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สิ่งที่คน คนหนึ่งจะเป็นนั้น ก็เพราะเขาเลือกที่จะเป็น ไม่ใช่เพราะถูกบังคับให้เป็น การที่คุณเข้าไปเรียนในวชิราวุธนั้น เมื่อคุณจบออกมา คุณอาจจะกลายเป็นคนที่มี ระเบียบ วินัย แบบสุด ๆ หรือไม่ คุณก็จะอาจจะกลายเป็นคนที่เกลียด ระเบียบ วินัย แบบสุด ๆ ได้เช่นกัน ส่วนผมอีกท่านหนึ่ง คิดว่าโรงเรียนของผมได้สอนการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะและการอยู่ร่วมกับระเบียบต่างๆ
  • คนในสมัยนี้ชอบออกความเห็น การออกความเห็นนั้นมีประโยชน์คือได้เป็นเครื่องดำริรอบคอบ ของผู้ปกครอง แต่ส่วนโทษก็มีมากเหมือนกัน เพราะผู้ที่จะออกความเห็น ถ้าไม่รู้ตลอดถึงการภายใน ว่าได้มีได้กระทำอยู่แล้วอย่างไร ก็ออกความเห็นบุ่มบ่ามไปตามอัตโนมัติ เหมือนกับคนที่อยู่ ไกลไม่ได้เห็นชัยภูมิพื้นที่ และไม่ทราบถึงการที่เขาแหวะเขาขุดอุโมงค์อยู่ ก็คิดพูดและโจษกัน ผิดๆ ถูกๆ ไปตามชอบใจโดยพละตนเอง คนแรกบางทีจะพูดแต่เล็กน้อยก่อน แต่คนที่สองคงจะต่อให้มากออกไปอีก พอถึงคนที่สามที่สี่เรื่องก็ยิ่งมากออกไปทุกที คราวนี้ยิ่งมากคนเข้าเรื่องก็ยิ่งชวน ให้ฟุ้งซ่านมากเข้า การออกความเห็นของคนโดยมากยังเป็นอยู่เช่นนี้ ผู้ที่เขาออกความเห็นถูกต้อง และเป็นประโยชน์แท้จริงนั้น เขาย่อมสืบให้รู้ความตื้นลึกหนาบางโดยละเอียด และใคร่ครวญ ให้รอบคอบในหนทางของการงานเสียก่อน แล้วเขาจึงพูดและออกความเห็น อันปัญญากับสติเป็น ของคู่กัน เราก็เรียกควบกันอยู่แล้วว่าสติปัญญา คนเราจะมีแต่ปัญญาและเชาวนะเป็นเครื่อง พาแล่นไปฝ่ายเดียวไม่ได้ จำต้องใช้สติสำหรับเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งกำกับไปกับปัญญาด้วย เมื่อพร้อมทั้งสติและปัญญาโดยบริบูรณ์แล้ว ความคิดและความเห็น จึงจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ อันสุขุม คนที่คิดกล่าวฟุ้งซ่านไปตามขณะจิตนั้น จะยึดถือเอาเป็นหลักหรือเอาแน่นอนนักไม่ได้

คำคมเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[แก้ไข]

  • นายมั่น เป็นบทอะเลิร์ตมาก ผมเพิ่งทราบที่รัชกาลที่ 6 เขียนเอาไว้มีระยะมากๆ หนึ่งท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงบทนี้ ท่านต้องการให้ประชาชนเป็นอย่างนายมั่น ก็คือการมีหูตาที่ดี คอยเป็นหูตาให้บ้านเมือง คอยอาสาให้แก้ปัญหาบ้านเมืองไม่นิ่งดูดาย เหมือนนายพรานจะต้องมีหูตาไว
    • กรกันต์ สุทธิโกเศศ