ศิลป พีระศรี

จาก วิกิคำคม
ศิลป์ พีระศรี กำลังสร้างสรรค์งานศิลปะ

ศิลป์ พีระศรี หรือนามเดิม กอร์ราโด เฟโรชี เกิดที่ตำบลซานตายิโอวานนี่ นครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 มีบิดาชื่อ นายอาตูโด เฟโรชี และมารดาชื่อนางซานตินา เฟโรชี เมื่อ พ.ศ.2457 ครั้นยังเรียนอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ ก็มีความสามารถดีเด่นเป็นที่ยอมรับในหมู่ศิลปิน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ อิตาลี จนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เลือกให้ท่านเป็นช่างปั้นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอนุสาวรีย์ พ.ศ. 2466 รับราชการในตำแหน่งช่างปั้นประจำกรมศิลปากร พ.ศ. 2492 ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการประกวดงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยการให้รางวัลเหรียญเกียรตินิยม และได้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ไว้หลายประเภทอีกด้วย[1]

คำกล่าว[แก้ไข]

โอวาทแก่ลูกศิษย์และผู้อื่น[แก้ไข]

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มักจะเรียกลูกศิษย์ทุกคนว่า "นาย" และมักจะสั่งสอนลูกศิษย์ที่ขี้เกียจขวนขวายว่า

“ นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร ”
ศิลป์ พีระศรี

ให้โอวาทกับ สนิท ดิษรพันธ์ เมื่อเรียนสำเร็จจิตรกรรมคนเดียวในปีนั้น

“ อย่าถือว่าเราเป็นคนเก่ง ต้องศึกษาเล่าเรียนอีกมาก ฉันเองก็ยังศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ”
ศิลป์ พีระศรี

กล่าวกับคนอื่น ๆ และสมเกียรติ หอมเอนก

“ ในบรรดาศิลปะด้วยกัน ดนตรีเป็นสิ่งเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้มากที่สุด เมื่อเรามีนักดนตรีที่มีความสามารถสูงมาบรรเลงในบ้านเรา เราก็ใคร่จะให้ญาติสนิทมิตรสหายได้มาร่วมเสพสุนทรียรสกับเราด้วย ”
ศิลป์ พีระศรี

กล่าวกับนักเรียนศิลปะที่เพิ่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากรในวันแรก

“ พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน…แล้วจึงเรียนศิลปะ ”
ศิลป์ พีระศรี

กล่าวกับลูกศิษณ์คนหนึ่ง

“ ทุกคนมีความงาม นายต้องค้นให้พบ…แม้แต่คนที่ขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุด ก็อาจจะมีความงามที่แอบซ่อนอยู่ อาจจะเป็นนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือฟัน หรือแม้แต่จิตใจที่งดงามก็ตาม นายต้องค้นให้พบ… ”
ศิลป์ พีระศรี

โอวาทแก่ชาวไทย[แก้ไข]

“ ชาวนาปลูกข้าวให้เรากิน ทำแผ่นดินให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต ไฉนเล่าเราจึงจะไม่เนรมิตสิ่งซึ่งยกจิตใจให้สูง สมกับที่เราเกิดมาแล้วโดยไม่เปลืองเนื้อที่ของแผ่นดินโลก ”
ศิลป์ พีระศรี

[2]

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. ประวัติ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เรียกข้อมูลวันที่ 24 มี.ค.2555 จาก www.inform.collection9.net
  2. รวมคำสอน ของ ศิลป์ พีระศรี ที่ศิลปากร เรียกข้อมูลวันที่ 24 มี.ค. 2555 จาก www.sujitwongthes.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไข]

w
w
วิกิพีเดีย มีบทความเกี่ยวกับ